ประกันรถยนต์ ชั้น 1 ราคา
Insurance

ซื้อ ความคุ้มครอง  ประกันรถยนต์ ชั้น 1 ราคาไม่แพง คุ้มค่าที่สุด

 ปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบประกันภัยรถยนต์ให้คุณได้เลือกซื้อขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เอาประกันเองว่าอยากได้รูปแบบความคุ้มครองแบบไหนให้กับตัวเองและคนที่คุณรัก ซึ่งแน่นอนว่าวันนี้คุณสามารถเข้ามาเลือกซื้อรูปแบบประกันภัยรถยนต์ ประกันรถยนต์ ชั้น 1 ราคาถูก ได้ที่เว็บ mrkumka

 ทางเราจะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการเลือกซื้อประกันรถยนต์ให้กับผู้เอาประกันได้มากขึ้นเนื่องจากเว็บ mrkumka  ของเรามีหลากหลายรูปแบบประกันภัยรถยนต์ซึ่งแต่ละรูปแบบประกันก็ให้ความคุ้มครองที่หลากหลายขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เอาประกันเช่นเดียวกันแน่นอนว่าคุณสามารถเข้ามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมสำหรับการเลือกซื้อรูปแบบประกันภัยรถยนต์ที่คุณต้องการได้ที่หน้าเว็บก่อนที่จะเข้าไปเลือกซื้อประกันโดยเฉพาะประกันรถยนต์ ชั้น 1 ราคาถูก

ซึ่งเป็นรูปแบบประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองมากที่สุดแม้จะมีราคาเบี้ยประกันที่แพงที่สุดแต่ถ้าเข้ามาซื้อกับแบรนด์ของเรา ประกันรถยนต์ ชั้น 1 ราคาถูก จะช่วยทำให้คุณประหยัดเงินในการเลือกซื้อความคุ้มครองได้มากขึ้นเพราะเรามีบริการเปรียบเทียบราคาเบี้ยประกันรถยนต์ ชั้น 1 ให้กับผู้เอาประกันทุกคนทำให้คุณมีตัวเลือกหรือ สิทธิประโยชน์ดีๆที่ทำให้คุณประหยัดเงินในการเลือกซื้อความคุ้มครองที่คุณต้องการได้มากขึ้น

ประกันรถยนต์ ชั้น 1 ราคาไม่แพง ซื้อกับช่องทางไหนดี

อย่าลืมว่าวันนี้หากคุณเข้ามาเลือกซื้อประกันรถยนต์ ชั้น 1 ราคาถูกๆได้ที่เว็บ mrkumka  คุณจะมีช่องทางที่จะทำให้คุณมีป้องกันในการใช้ชีวิตประกันภัยรถยนต์ที่คุณสนใจได้มากขึ้นเพราะอุบัติเหตุบนท้องถนนสามารถเกิดขึ้นได้ทุกวันถ้าคุณไม่เตรียมความพร้อมจะทำให้ ผู้ขับขี่เสียเงินจากอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี เอาเป็นว่าถ้าใครสนใจประกันรถยนต์ ชั้น 1 ราคาไม่แพง สามารถเข้ามาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมของรูปแบบประกันรถยนต์ ชั้น 1 ราคาประหยัด ที่หน้าเว็บ mrkumka ได้ เราพร้อมที่จะใหคำแนะนำในการเลือกซื้อรูปแบบประกันรถยนต์ที่คุณต้องการ และเหมาะสมกับความต้องการของผู้เอาประกันเอง เอาเป็นว่าถ้าใครสนใจตามเราเข้ามาเลือกซื้อเลือกดูรูปแบบประกันที่คุณต้องการได้เลย

เพราะนอกจากความคุ้มครองที่คุ้มค่ากับเบี้ยประกันที่คุณจ่ายแล้ว เรายังช่วยให้คุณจ่ายค่าเบี้ยได้ประหยัดลงจากบริการเปรียบเทียบราคาเบี้ยประกัน เอาเป็นว่าถ้าใครสนใจ ตามเราเข้ามาเลือกซื้อเลือกดูรูปแบบประกันรถยนต์ ชั้น 1 ราคาถูกๆ หรือประกันที่คุณต้องการกันได้เลย เราพร้อมให้บริการ การเลือกซื้อความคุ้มครองประกันรถยนต์เป็นเรื่องสำคัญที่คุณไม่ควรมองข้ามถ้าคุณไม่อยากแบกรับความเสี่ยงด้วยตัวเอง

เพียงเข้ามาเลือกซื้อกับเว็บออนไลน์ของเรา คุณจะได้รับความรวดเร็วในการเลือกซื้อความคุ้มครอง รวมถึงวามสะดวกในการเลือกซื้อ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลในการเลือกซื้อ ของแต่ลพรูปแบบประกัน ที่ผู้เอาประกันสนใจ การจัดส่งเอกสารของการเลือกซื้อประกัน หรือข้อมูลใดๆก็ตามเว็บ mrkumka  ของเราพร้อมให้บริการ และช่วยเพิ่มเกราะป้องกันสำหรับการให้ความคุ้มครองจากประกันรถยนต์ที่คุณต้องการ

ขั้นตอนการเคลมประกัน
Insurance

เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ต้องเตรียมหลักฐานให้ประกันอย่างไรบ้าง

อุบัติเหตุ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ได้ทันตั้งตัวหรือคาดคิด จึงทำให้เกิดความสูญเสียมากมายใหญ่หลวงกับตัวเราและคนรอบข้างได้ ดังนั้นการป้องกันหรือวางแผนรับมือเรื่องเหล่านี้ที่ดีนั้น เราสามารถทำได้ด้วยการทำ “ประกัน” ที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของเราเอาไว้เสมอๆ ครับ เราเชื่อว่าหลายๆ ท่านน่าจะมีประกันเป็นของตนเองแต่ไม่รู้แนวทางหรือวิธีการเตรียมเอกสารสำหรับขอเคลมกันอย่างแน่นอน เพื่อเป็นแนวทางที่ดีวันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “ขั้นตอนการเตรียมตัวในการเคลมประกัน” กันสักหน่อยครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลาเราลุยกันดีกว่าครับผม

ขั้นตอนการเคลมประกันที่ควรรู้

ประกันอุบัติเหตุและสุขภาพ

หลังจากเกิดอุบัติเหตุหรือรู้ผลวินิจฉัยจากแพทย์ ให้ติดต่อฝ่ายเคลมประกันที่รู้ใจทันที โทร 02 582 8855 กด 2 หากต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ ให้โทรเรียกรถพยาบาลก่อนโทรหารู้ใจ

–          แจ้งเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลว่าต้องการใช้เอกสารในเคลมประกันทั้งหมด

–          เตรียมเอกสารและหลักฐานทั้งหมดที่จำเป็น ตามรายการของความคุ้มครองแต่ละประเภท

–          ส่งเอกสารและหลักฐานมาที่รู้ใจ ภายในระยะเวลาที่กำหนด เราจะตรวจสอบและพิจารณาการเคลมประกัน โดยอาจมีการขอเอกสารเพิ่มเติมตามความจำเป็น

ประกันรถยนต์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่…

●แบบมีคู่กรณี คือ การเกิดอุบัติเหตุแบบรถชนกับรถ พนักงานบริษัทประกันจะตรวจสอบและพิจาราณาว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิด บริษัทจะเป็นผู้จ่ายแทนลูกค้าในส่วนของค่าเสียหายส่วนแรก (ทั้ง Deductible และ Excess) ไปก่อน แล้วเรียกคืนภายใน 7 วัน

●แบบไม่มีคู่กรณี คือ ในกรณีที่รถของผู้เอาประกันเกิดอุบัติเหตุเกิดชน เช่น ถูกรถอื่นชนแล้วหลบหนี ไม่สามารถแจ้งรายละเอียดคู่กรณีได้ แต่หากแจ้งรายละเอียดคู่กรณีได้ และมีการแจ้งความลงบันทึกประจำวันกับพนักงานสอบสวน ไม่ต้องเสียค่า Deductible หรือ excess เนื่องจากทางบริษัทประกันจะดำเนินการตามเรียกร้องเองในภายหลัง

และจะต้องเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้ครับ

–          สำเนาใบขับขี่ของผู้ขับขี่ขณะเกิดเหตุ

–          สำเนาทะเบียนรถ

–          สำเนาหน้าตารางกรมธรรม์

–          สำเนาบันทึกประจำวัน (แล้วแต่กรณี)

–          เอกสารชนแล้วแยก หรือใบหลักฐานยอมรับผิดจากคู่กรณี (แล้วแต่กรณี)

ประกันอุบัติเหตุ “ไม่คุ้มครอง” ในส่วนใดบ้าง?

–          การบาดเจ็บที่เกิดจากโรคหรือความเจ็บป่วย

–          การบาดเจ็บที่เกิดจากกิจกรรมอันตรายหรือความประมาทเลินเล่อ เช่น จุดประทัด

–          บาดแผลที่เกิดจากการทำร้ายร่างกายตัวเอง รวมถึงการฆ่าตัวตาย

–          การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นขณะอยู่ในอาการมึนเมาแอลกอฮอลล์ หรือใช้สารเสพติด

–          การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นขณะก่ออาชญากรรม

–          การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นก่อนซื้อประกันอุบัติเหตุ

เราจะเลือกประกันอุบัติเหตุอย่างไรดี

–          ควรเลือกบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือ เพราะหากเป็นบริษัทที่ไม่น่าเชื่อถือจะทำให้เราเคลมยากในภายหลังครับ

–          เงื่อนไข ผลประโยชน์ความคุ้มครองคุ้มค่าและครอบคลุม เพื่อความสะดวกแก่ผู้เอาประกัน

–          เบี้ยประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลสมเหตุสมผล ไม่ควรแพงจนเกินกำลังของเรา

–          ควรสอบถามตัวแทนหรือบริษัทผู้ให้บริการทุกครั้ง ถึงเงื่อนไขการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหลังเกิดอุบัติเหตุ ก่อนทำประกันว่าเงื่อนไขการจ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นแบบใด ใช้เวลากี่วัน บริษัทถึงจะอนุมัติการจ่ายค่าสินไหมทดแทน

–          มีแผนประกันให้เลือกหลากหลาย ยืดหยุ่นตามความต้องการของลูกค้า เพื่อสภาพคล่องทางการเงินที่เหมาะสม

–          ความรวดเร็วในการตรวจสอบเอกสารเคลมประกันเมื่อต้องนอนโรงพยาบาล

–          ครอบคลุมสถานพยาบาลทุกที่ทั่วโลกหรือไม่

และนี่ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ต้องเตรียมหลักฐานให้ประกันอย่างไรบ้าง” ที่พวกเราได้รวบรวมมาฝากท่านผู้อ่านกันในบทความข้างต้นนี้ หวังว่าจะเป็นแนวทางและความรู้ที่ดีสำหรับการเลือกทำประกันสำหรับทุกๆ ท่านได้ในอนาคตกันนะครับ สุดท้ายนี้ขอให้ทุกๆ ท่านไม่เกิดอุบัติเหตุจะเป็นอันดีที่สุดครับผม

การเลือกประกัน
Insurance

4 แนวทางการเลือกประกันให้เหมาะกับเรา

การวางแผนชีวิตและแผนอนาคตถือจะเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดมากกว่าได้ ซึ่งหากวางแผนได้ดีก็จะทำให้ชีวิตอนาคตราบรื่นเป็นอย่างมากเลยหล่ะครับ เฉกเช่นเดียวกับการเลือก “ประกันภัยที่เหมาะสม” ถ้าเลือกไม่ผิด ก็จะหมดห่วงคนรุ่นหลังได้เลยหล่ะครับ บทความนี้จะขอพาทุกๆ ท่านไปค้นหาและเปรียบว่า “เลือกประกันแบบไหนถึงจะเหมาะ” เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจกันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้นเราไปดูกันเล้ย!!

ข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญเกี่ยวกับบุคคลในการทำ ประกันภัย

1.  ผู้รับประกันภัย  คือบริษัทประกันชีวิต ซึ่งหมายถึงบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจประกันชีวิต เพื่อรับประกันต่อความสูญเสียหรือความเสียหายต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล โดยสัญญาว่าจะจ่ายชดเชยให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับผลประโยชน์เมื่อมีการเสียชีวิต และอาจมีความคุ้มครองอื่น ๆ เช่น การประกันอุบัติเหตุและสูญเสียอวัยวะ การประกันกรณีทุพพลภาพ หรือการประกันสุขภาพ (ดูรายชื่อบริษัท)

2.  ผู้เอาประกันภัย  คือบุคคลที่ตกลงทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทฯ โดยอาศัยสาเหตุของการมีชีวิตหรือการตายเป็นเงื่อนไขในการจ่ายเงินประกันชีวิต

3.  ผู้รับประโยชน์  คือบุคคลที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิตว่าจะเป็นผู้รับเงินประกันชีวิตตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญาหากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต

4 หลักการเลือกประกันที่เหมาะสม

การเลือกประกันชีวิตที่ดีและเหมาะสมกับท่านผู้อ่านสามารำถทำได้ดังนี้

●พิจารณารายได้ การทำประกันนั้นอาจถือเป็นหนึ่งในการออมทางเลือกที่หลายคนให้ความไว้วางใจ ที่นอกจากจะเป็นการเก็บเงินก้อนแล้ว ยังเป็นการรองรับความเสี่ยงที่ดีอีกด้วย แต่ทว่าหลายคนก็เลือกจะทำประกันที่มีวงเงินสูง ทำให้ต้องจ่ายเบื้ยประกันสูงตาม เราอาจมั่นใจกับการประกันภัยดังกล่าวในระยะสั้น ทว่าระยะยาวนั้นอาจก่อให้เกิดปัญหาทางการเงินได้ ประกันชีวิตที่เหมาะสมคือ 10-20% ของรายได้

●พิจารณาความเสี่ยงด้านสุขภาพ ซึ่งแม้ว่าจะดูแลสุขภาพดีแค่ไหนแต่ความเสี่ยงในโรคภัยก็ยังคงเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ การทำประกันสุขภาพไว้ล่วงหน้าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับการแบ่งเบาความเสี่ยงที่อาจเกิดในอนาคต

●พิจารณาว่าเราเป็นผู้หารายได้หลักของครอบครัวหรือไม่? ครอบครัวต้องพึ่งพิงรายได้ของคนใดคนหนึ่งในครอบครัวเป็นหลัก ควรที่จะมีประกันชีวิตเพื่อคุ้มครอง เพราะหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น หรืออุบัติเหต จนไม่สามารถทำงาน หรือขาดรายได้ คนข้างหลังจะลำบาก แล้วควรจะทำประกันชีวิตเท่าไหร่ดี ก็ขึ้นอยู่กับรายจ่ายรวมเป็นหลักครับ

ทำไมถึงควรทำประกันตั้งแต่อายุน้อยๆ

การทำประกันในช่วงอายุ 20 ปีจะช่วยให้คุณได้จ่ายเงินทำประกันในอัตราที่ดี เนื่องจากในหลายๆ กรมธรรม์ อายุน้อยกว่าก็ชำระค่าเบี้ยน้อยกว่า วัยรุ่นมีความเสี่ยงน้อยกว่า – สุขภาพถือเป็นปัจจัยที่สำคัญ และความเจ็บป่วยมักเกิดขึ้นในภายหลัง เหล่าหนุ่มสาวจึงมักจ่ายน้อยกว่า โดยการคำนวณเบี้ยประกันจะคิดอยู่บนพื้นฐานของความเสี่ยง อายุและสุขภาพของผู้เอาประกันเป็นที่ตั้งอยู่แล้วนั้นเองครับ จึงไม่แปลกที่อายุน้อยๆ ค่าเบี้ยประกันก็จะน้อยตาม

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “4 แนวทางการเลือกประกันให้เหมาะกับเรา” ที่เราได้รวบรวมมาให้ทุกๆ ท่านได้อ่านเป็นความรู้กัน หวังว่าจะชอบกันนะครับ

ความหมายของประกัน
Insurance

ประกันมีกี่ประเภทกันนะ

ว่ากันด้วยเรื่องของประกันภัยในปัจจุบันนั้น มีมากมายหลายแบบและหลายบริษัทให้เราได้เลือกสรรค์ตามความคุ้มครองที่เราต้องการ แต่หลายๆ ท่านก็คงไม่รู้ว่าประกันมีกี่ประเภท วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไปหาคำตอบเกี่ยวกับ “ประกันมีกี่ประเภทกันนะ” กันสักหน่อยครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันดีกว่าครับผม

ความหมายของประกันเป็นอย่างไร?

ประกัน คือ การตกลงร่วมกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ ผู้รับประกันภัย (บริษัทประกันภัย) กับผู้เอาประกันภัย (ลูกค้า) โดยมีการจัดทำข้อตกลงขึ้นในลักษณะของสัญญาประกันภัย หรือเรียกว่า “กรมธรรม์ประกันภัย” ซึ่งคู่สัญญาต่างมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อกันและกัน ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่คุ้มครองผู้เอาประกันภัย เมื่อเกิดการสูญเสียหรือมีความเสียหายเกิดขึ้นต้องชดเชยให้กับผู้เอาประกันภัยตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในสัญญา

เมื่อมีการตกลงทำประกันภัยแล้ว มีผู้เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัยอยู่ 3 ฝ่าย ได้แก่

  • ผู้รับประกันภัย (Insurer) เป็นบริษัทประกันภัยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยจากภัยที่เกิดขึ้นตามเงื่อนไขในสัญญา
  • ผู้เอาประกันภัย (Insured) หรือผู้ถือกรมธรรม์ (Policy Holder) เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ มีหน้าที่ส่งเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้รับประกันภัยจนครบกำหนดตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา
  • ผู้รับผลประโยชน์ (Beneficiary) เป็นบุคคลที่ถูกระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ให้เป็นผู้ได้รับค่าสินไหมทดแทน ซึ่งผู้รับผลประโยชน์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการของผู้เอาประกันภัย

การแบ่งประเภทของประกัน

ประกันภัยสามารถบ่งเป็น 3 ประเภท อ้นได้แก่…

1. การประกันภัยบุคคล (Insurance of the person) เป็นการประกันภัยเกี่ยวกับภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือที่เกิดกับบุคคล ได้แก่

1.1 การประกันชีวิต เป็นสัญญาระหว่างผู้ให้ประกัน ซึ่งมักเป็นบริษัทประกันชีวิต กับผู้เอาประกัน โดยผู้เอาประกันต้องจ่ายเบี้ยประกันให้ผู้รับประกัน หากผู้เอาประกันเกิดเสียชีวิตขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับภายในเงื่อนไขในกรมธรรม์ บริษัทประกันจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้รับผลประโยชน์เรียกว่าเงินสินไหม

1.2 การประกันอุบัติเหตุ เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองต่อผู้เอาประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัย ประสบอุบัติเหตุได้รับความบาดเจ็บทางร่างกาย และหากผลของการบาดเจ็บนั้นส่งผลให้ผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล หรือรุนแรงถึงขั้นทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะ หรือเสียชีวิต

1.3 การประกันสุขภาพ คือ การประกันภัยที่บริษัทประกันภัยตกลงที่จะชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลนั้นจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุให้แก่ผู้เอาประกันภัย

2. การประกันภัยทรัพย์สิน (Property Insurance) เป็นการประกันที่บริษัทผู้รับประกันภัยทำสัญญายินยอมที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้เอาประกันภัย ในกรณีที่เกิดความเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เอาประกัน ได้แก่เป็นการประกันที่บริษัทผู้รับประกันภัยทำสัญญายินยอมที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่งให้กับผู้เอาประกันภัย ในกรณีที่เกิดความเสียหายเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เอาประกัน ได้แก่

2.1 การประกันอัคคีภัย

2.2 การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง

2.3 การประกันภัยรถยนต์

2.4 การประกันภัยเบ็ดเตล็ด

3. การประกันภัยเกี่ยวกับความรับผิดตามกฎหมาย (Liability Insurance) เป็นการประกันภัยที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย ที่เกิดจากการประมาทเลินเล่อของผู้เอาประกันภัย บุคคลในครอบครัว หรือลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยที่ทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ เจ็บป่วย หรือทรัพย์สินเสียหาย ซึ่งสามารถแบ่งประเภทการประกันภัยเกี่ยวกับความรับผิดตามกฎหมาย แบ่งออกได้กว้างๆ ดังนี้

3.1 การประกันภัยความรับผิดต่อสาธารณะ (Public Liability Insurance)

3.2 การประกันภัยความรับผิดจากผลิตภัณฑ์ (Product Liability Insurance)

3.3 การประกันภัยความรับผิดจากวิชาชีพ (Professional Liability Insurance)

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ประเภทของประกันภัย” ที่มีถึง 3 หัวข้อหลักๆ มีความคุ้มครองที่หลากหลายโดยแบ่งกันไปตามหน้าที่ หลังจากอ่านแล้วก็คงจะได้ประโยชน์และความเข้าใจกันมากขึ้นกันนะครับ

ทำความรู้จักกับประกันภัย
Insurance

ทำความรู้จักกับประกันภัย

อุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดต่างๆ นั้น หากเราสามารถหาทางลดหย่อนความเสียหายและลดค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการวางแผนที่ดีในปัจจุบัน ก็เปรียบสเมือนว่าเราได้ป้องกันตนเองในระดับที่ดีมากๆ เอาไว้แล้วนั้นเองครับ ซึ่งสิ่งที่จะช่วยเสริมการป้องกันนี้มักจะใช้ “การทำประกันภัย” เป็นตัวช่วยหลักๆ อยู่เสมอๆ ยังไงหล่ะครับ วันนี้เราจึงอยากพาทุกๆ ท่านไป “ทำความรู้จักกับประกันภัย” กันสักหน่อยครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันดีกว่าครับผม

ความหมายของ ประกันภัยตามที่ คปภ. กำหนดไว้ เป็นอย่างไร?

การประกันภัย (Insurance) เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเมื่อเกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ ที่ได้ทำประกันภัยไว้ ด้วยการเฉลี่ยหรือการกระจายความเสียหายไปยังสมาชิกที่ทำประกันภัย โดยมีบริษัทประกันภัยเป็นผู้ทำหน้าที่เก็บเบี้ยประกันและชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในสัญญา ทั้งนี้การทำประกันภัย เป็นการตกลงร่วมกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ ผู้รับประกันภัย (บริษัทประกันภัย) กับผู้เอาประกันภัย (ลูกค้า) โดยมีการจัดทำข้อตกลงขึ้นในลักษณะของสัญญาประกันภัย หรือเรียกว่า “กรมธรรม์ประกันภัย” ซึ่งคู่สัญญาต่างมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อกันและกัน ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่คุ้มครองผู้เอาประกันภัย เมื่อเกิดการสูญเสียหรือมีความเสียหายเกิดขึ้นต้องชดเชยให้กับผู้เอาประกันภัยตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในสัญญา

สิ่งที่จะทำให้เราตัดสินใจทำประกันภัยที่ดีต้องดูอะไรบ้าง?

●ความเสี่ยงในการทำงาน: การทำงานรวมไปถึงการเดินทางก็นับเป็นความเสี่ยงประการหนึ่ง หากทำงานใกล้บ้าน งานออฟฟิศ อาจใช้เป็นการทำประกันสุขภาพ ที่มีความเกี่ยวข้องกับออฟฟิศซินโดรม แต่ถ้าออกต่างจังหวัดบ่อย งานมีความเสี่ยงสูง ประกันอุบัติเหตุและประกันชีวิตอาจมีความสำคัญมากขึ้น

●ความเสี่ยงด้านสุขภาพ: แม้ว่าจะดูแลสุขภาพดีแค่ไหนแต่ความเสี่ยงในโรคภัยก็ยังคงเป็นสิ่งที่ทุกคนไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ การทำประกันสุขภาพไว้ล่วงหน้าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับการแบ่งเบาความเสี่ยงที่อาจเกิดในอนาคต

●ความเสี่ยงของสถานที่พักอาศัย ถึงจะเป็นบ้านที่สร้างมาด้วยหลักวิศวกรรมที่ครบทุกๆ ด้าน แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นอุบัติเหตุ อย่างไรก็สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้นควรสำรวจที่พักของท่านให้ครอบคลุมและทำประกันไว้เพื่อความปลอดภัยจะดีที่สุดครับ

●เป็นผู้หารายได้หลักของครอบครัว: ครอบครัวต้องพึ่งพิงรายได้ของคนใดคนหนึ่งในครอบครัวเป็นหลัก ควรที่จะมีประกันชีวิตเพื่อคุ้มครอง เพราะหากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น หรืออุบัติเหต จนไม่สามารถทำงาน หรือขาดรายได้ คนข้างหลังจะลำบาก แล้วควรจะทำประกันชีวิตเท่าไหร่ดี ก็ขึ้นอยู่กับรายจ่ายครอบครัวต่อปี คูณด้วย 5 ปี ได้เท่าไหร่นั้นก็คือทุนประกันชีวิตที่ควรจะมีเพื่อให้คนข้างหลังสามารถมีชีวิตอยู่อย่างปกติและมีเวลาตั้งตัวได้ หากเบี้ยประกันชีวิตที่ต้องส่งนั้นสูงเกินกว่าที่จะส่งไหวก็ยังไม่จำเป็นต้องทำทุนประกันสูงถึงที่คำนวณไว้ให้เริ่มจากจ่ายเบี้ยประกันชีวิตน้อยๆ และเมื่อจ่ายไหวค่อยทำประกันชีวิตฉบับใหม่เพื่อให้ครอบคลุม

ขั้นตอนการเคลมประกันภัยเบื้องต้น

●หลังจากเกิดอุบัติเหตุหรือรู้ผลวินิจฉัยจากแพทย์ ให้ติดต่อฝ่ายเคลมประกันที่รู้ใจทันที โทร 02 582 8855 กด 2 หากต้องการความช่วยเหลือทางการแพทย์ ให้โทรเรียกรถพยาบาลก่อนโทรหารู้ใจ
●แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและเจ้าที่ของโรงพยาบาล(หากเป็นส่วนของประกันอุบัติเหตุ)ว่าต้องการใช้เอกสารในเคลมประกันทั้งหมด
●เตรียมเอกสารและหลักฐานทั้งหมดที่จำเป็น ตามรายการของความคุ้มครองแต่ละประเภท
●ส่งเอกสารและหลักฐานมาที่รู้ใจ ภายในระยะเวลาที่กำหนด เราจะตรวจสอบและพิจารณาการเคลมประกัน โดยอาจมีการขอเอกสารเพิ่มเติมตามความจำเป็น

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “ทำความรู้จักกับประกันภัย” ที่เราได้รวบรวมมาฝากท่านผู้อ่านกันในบทความข้างต้นนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อยกันนะครับ

ประกันรถจักรยายนต์
Insurance

ทำประกันรถจักรยายนต์จะคุ้มหรือไม่?

เรื่องของการประสบุบัติเหตุนั้น ไม่ว่าใครก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตนเองกันอย่างแน่นอนใช่มั้ยหล่ะครับ เพราะเกิดเหตุแต่ละทีคงต้องเสียเงินเสียและเสียเวลารักษาตัวกันเป็นเวลานานกันแน่ๆ จะดีกว่ามั้ยถ้าทุกๆ การเดินทางขับขี่ของเรามีสิ่งที่จะอำนวยความสะดวกและปิดช่องโหว่ในเรื่องของการเสียเงินได้ในแบบที่เราไม่คาดคิด ซึ่งการเดินทางที่น่าทำประกันมากที่สุดก็คือ “ประกันจักรยานยนต์” นั้นเองครับ วันนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “ทำประกันรถจักรยายนต์จะคุ้มหรือไม่?” กันเพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจกันครับ

ประกันคืออะไร?

ประกัน คือ การตกลงร่วมกันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย อันได้แก่… ผู้รับประกันภัย (บริษัทประกันภัย) กับผู้เอาประกันภัย (ลูกค้า) โดยมีการจัดทำข้อตกลงขึ้นในลักษณะของสัญญาประกันภัย หรือเรียกว่า “กรมธรรม์ประกันภัย” ซึ่งคู่สัญญาต่างมีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อกันและกัน ผู้รับประกันภัยมีหน้าที่คุ้มครองผู้เอาประกันภัย เมื่อเกิดการสูญเสียหรือมีความเสียหายเกิดขึ้นต้องชดเชยให้กับผู้เอาประกันภัยตามรายละเอียดที่ระบุไว้ในสัญญา ขณะเดียวกันผู้เอาประกันภัยก็มีหน้าที่ชำระเบี้ยประกันภัย (Premium) ตามที่ระบุไว้ในสัญญา เพื่อให้ความคุ้มครองดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

ส่วนประกันรถมอเตอร์ไซค์ คือ กรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองเพื่อดูแลในทรัพย์สิน ชีวิต และร่างกายของผู้ซื้อประกัน รวมถึงค่ารักษาพยาบาล จากอุบัติเหตุที่เกิดจากมอเตอร์ไซค์ ตามที่ได้ทำเอาไว้

มีประกันแบบคุ้มครองจักรยานยนต์มั้ย?

ตอบได้เลยว่ามีครับและสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ซึ่งได้แก่…ประกันมอเตอร์ไซค์ชั้น 1, ชั้น 2, ชั้น 2+, ชั้น 3 และชั้น 3+ โดยแต่ละขั้นจะมีความคุ้มครองที่แตกต่างกันไป ประกันชั้น 1 จะให้ความคุ้มครองได้ครอบคลุมมากที่สุด

ความคุ้มครองของประกันรถจักรยานยนต์จคุ้มค่าหรือเปล่าว?

ความคุ้มครองของประกันรถจักยานยนต์หรือมอเตอร์ไซด์จะประกอบไปด้วยเรื่องของวงเงินค่าการรักษาเมื่อเกิดอุบัติเหตุ เงินประกันตัวรถมอเตอร์ไซด์กับการจ่ายค่าชดเชยระหว่างคู่กรณี เป็นต้น ซึ่งเรียกได้ว่าคุ้มและครอบคลุมเกือบทุกๆ ด้านหากเราทำประกันชั้น 1 เอาไว้ครับ

รถมอเตอร์ไซค์แบบไหน ที่ประกันไม่คุ้มครอง

สำหรับเงื่อนไขในการรับประกันจะแตกต่างกันออกไปตามแต่ละแผนประกันของแต่ละบริษัท บางที่ไม่รับรถจักรยานยนต์เชิงพาณิชย์ หรือไม่รับรถอายุเกิน 10 ปี ซึ่งเงื่อนไขเหล่านี้ก็ต้องสอบถามข้อมูลก่อน แต่หลักๆ แล้วรถมอเตอร์ไซค์ที่ประกันจะไม่คุ้มครองเลย ได้แก่ รถมอเตอร์ไซค์แต่งซิ่ง, รถมอเตอร์ไซค์ที่ตกแต่งแบบพิเศษ, รถจักรยานยนต์ที่มีอะไหล่แพงหรือหายาก (บางกรมธรรม์), รถมอเตอร์ไซค์เก่าเสื่อมสภาพ

ถ้าเราจะเคลมประกันมอเตอร์ไซด์ ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

หากรถมอเตอร์ไซค์เกิดอุบัติเหตุ สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินเรื่องการเคลมรถมอเตอร์ไซค์ โดยเตรียมเอกสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ เล่มทะเบียนรถมอเตอร์ไซค์, สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ, ใบขับขี่, สำเนากรมธรม์ประกันภัย, ภาพถ่ายความเสียหาย จากนั้นเจ้าหน้าที่จะมาประเมินความเสียหายและออกใบเคลมสำหรับนำเข้าศูนย์ซ่อม ให้เราเก็บใบเสร็จ และใบรับรถไว้เป็นหลักฐานสำหรับวันที่มารับรถมอเตอร์ไซค์ที่ซ่อมเสร็จแล้วนั้นเองครับ

นอกจากประกันที่ทำแล้ว พ.ร.บ. คืออะไร?

พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง?

หากเกิดอุบัติเหตุ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์จะให้ความคุ้มครองในเบื้องต้นทันที โดยยังไม่ต้องมีการพิสูจน์ความผิด รวมไปถึงการเกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี เช่น ล้มเอง หรือเฉี่ยวชนกับสิ่งกีดขวางบนท้องถนน ทำให้ผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารบาดเจ็บหรือเสียชีวิต พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครอง ดังนี้

●เบิกค่ารักษาพยาบาลตามค่าใช้จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน

●หากเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ จะได้รับเงินชดเชย 35,000 บาทต่อคน

●หากเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะตามมาภายหลังเข้ารับการรักษา จะได้รับเงินชดเชยสูงสุด 65,000 บาท

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “ทำประกันรถจักรยายนต์จะคุ้มหรือไม่?” ที่เราได้รวบรวมมาฝากท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านที่กำลังหาข้อมูลในด้านนี้กันครับ

ประกันรถยนต์
Insurance

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการทำประกันรถยนต์

ทุกครั้งที่เรานึกถึงการซื้อ “ประกันรถยนต์” เชื่อว่าทุกๆ ท่านก็คงคิดว่ามันเป็รสร้างภาระทางการเงินเพิ่มเติมจากแต่เก่า จึงทำให้ไม่ค่อยจะอยากเสียเท่าไหร่ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าจริงๆ แนวทางในการจัดการ “ความเสี่ยง” ที่ดีมากๆ วิธีหนึ่ง เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าในอนาคตเราจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นหรือไม่ก็ได้นั้น และคุณอาจจะต้องจบลงด้วยการเสียเงินมากกว่าที่คุณจะต้องจ่ายค่าประกันเสียอีก บทความนี้จะขอพาทุกๆ ท่านไปหาความรู้เกี่ยวกับ “การทำประกันรถยนต์” กันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น เราไปดูกันเล้ยย

ทำความรู้จักกับ ประกันรถยนต์

ประกันภัยรถยนต์ หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้เอาประกันภัย” ได้โอนความเสี่ยงภัยเกี่ยวกับรถยนต์ไปให้บุคคลอื่นซึ่งเรียกว่า “ผู้รับประกันภัย” รับเสี่ยงภัยแทน โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเรียกว่า “เบี้ยประกันภัย” ให้กับผู้รับประกันภัย เป็นการตอบแทนที่ผู้รับประกันภัยยอมรับความเสี่ยงภัยไว้แทน  หากรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้เกิดอุบัติเหตุ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ตัวรถยนต์ หรือแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลที่โดยสารอยู่ภายในรถยนต์ ตลอดจนบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายจากรถยนต์ที่เอาประกันภัยคันดังกล่าว ผู้เอาประกันภัย จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เรียกว่า “ค่าสินไหมทดแทน” โดยผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้ตามจำนวนค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ได้ตกลงทำสัญญาไว้

ประกันรถยนต์มีกี่ประเภท

สามารถแบ่งออกเป็น 2 ปร้เภทหลัก ดังนี้

1. การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (...)

คือ การประกันภัยรถยนต์ที่กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรถทุกคันมีหน้าที่ต้องจัดให้มีการประกันภัย ตามความคุ้มครองที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กำหนดไว้ คือ การประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรือที่เรียกว่า “การประกันภัย พ.ร.บ.” (เว้นแต่ รถที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ระบุยกเว้นไว้ เช่น รถของสำนักพระราชวัง รถสำหรับเฉพาะองค์พระมหากษัตริย์ รถของกระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น) ทั้งนี้ หากเจ้าของรถ หรือผู้ครอบครองรถไม่ทำประกันภัยตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กำหนด จะมีโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้ (ปรับไม่เกิน 10,000 บาท) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประสบภัยจากรถทุกคน เมื่อประสบภัยจากรถที่ใช้ หรืออยู่ในทาง หรือสิ่งที่บรรทุกติดตั้งมากับรถ ส่งผลให้ได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ได้รับการชดใช้และเยียวยาความสูญเสียหรือเสียหายที่เกิดขึ้น

2.การประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

คือ การประกันภัยที่เกิดขึ้นโดยความสมัครใจของเจ้าของรถยนต์ ผู้ครอบครองรถยนต์ หรือผู้ขับขี่รถยนต์ โดยไม่ได้เกิดจากการถูกบังคับโดยกฎหมาย จัดทำสัญญาเพื่อคุ้มครองความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวรถ หรือความรับผิดของผู้เอาประกันภัยที่มีต่อบุคคลภายนอก

ประกันแต่ละชั้น แตกต่างกันอย่างไร?

การประกันภัยรถยนต์ประเภท 1

     ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุม และสูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเภทอื่น ๆ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองมากกว่าการประกันภัยรถยนต์ประเภทอื่น ๆ โดยมีความคุ้มครองหลักครบทั้ง 3 หมวดการคุ้มครอง ได้แก่ หมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก, หมวดการคุ้มครองรถยนต์สูญหายไฟไหม้, หมวดการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์

การประกันภัยรถยนต์ประเภท 2

       เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองใกล้เคียงกับการประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 แตกต่างกันเพียงไม่มีความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์ ซึ่งหมายถึงคุ้มครอง 2 หมวด ได้แก่ หมวดการคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกและหมวดการคุ้มครองรถยนต์สูญหายไฟไหม้

ข้อดีของการทำประกันรถยนต์

●ช่วยแบ่งเบาค่าซ่อมรถเราและคู่กรณี หากเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนขึ้นมา เราไม่จำเป็นต้องสำรองเงินไว้จ่ายอย่างแน่นอน เพราะประกันรถยนต์จะช่วยจ่ายค่าซ่อมรถของเราและคู่กรณีด้วยการเราผิด

มีค่ารักษาพยาบาลให้ ไม่ต้องสำรองจ่ายเอง หากกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจนได้รับความบาดเจ็บทางด้านร่างกายไม่ว่าจะเป็นเราหรือคู่กรณีก็ตาม ประกันภัยจะมีค่ารักษาพยาบาลให้ตามวงเงินที่ได้ทำไว้

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการทำประกันรถยนต์” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความนี้ เราหวังว่าท่านจะชอบกันและเป็นประโยชน์นะครับ

ประกันอัคคีภัย
Insurance

ข้อดีและข้อเสียของการทำประกันอัคคีภัย

อย่างที่เราทราบกันดีว่า “การประกันอัคคีภัย” เป็นการประกันวินาศภัยประเภทหนึ่งที่มีบทบาท รับผิดชอบต่อสังคมทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งต่อส่วนรวมและต่อบุคคล จึงทำให้การทำประกันอัคคีภัยนับว่าเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างมาก ในวันนี้เราจะขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมและพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “ข้อดีและข้อเสียของการทำประกันอัคคีภัย” กันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น เดี๋ยวเราไปดุกันเลยดีกว่าครับ

การประกันอัคคีภัย คืออะไร?

การประกันอัคคีภัย คือ การให้ความคุ้มครองทรัพย์สินต่างๆ ของผู้เอาประกันภัย  ไม่ว่าจะเป็น สังหาริมทรัพย์ หรือ อสังหาริมทรัพย์  ทั้งทรัพย์สินที่มีรูปร่าง และไม่มีรูปร่าง ที่อาจเกิดความสูญเสียหรือเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้เป็นหลัก

ประกันอัคคีภัย คุ้มครองอะไรบ้าง

1. สิ่งปลูกสร้างที่ไม่รวมฐานราก : ส่วนของบ้านที่อยู่เหนือพื้นดินขึ้นไป เช่น เสา ผนัง หลังคา พื้น ประตู หน้าต่าง รั้ว อาคารจอดรถ เป็นต้น

2. ทรัพย์สินในสิ่งปลูกสร้าง : ทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้างนั้น เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่ง สิ่งติดตั้งตรึงตรา เครื่องใช้ภายในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เครื่องดนตรี เครื่องเสียง เครื่องครัว เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ

ประกันอัคคีภัยมีกี่ประเภท

ประกันอัคคีภัยนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1.  การประกันอัคคีภัยมาตรฐาน    เป็นการประกันอัคคีภัยที่ให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินที่เป็นมาตรฐานทั่วไป โดยกรมธรรม์ประกันภัยจะให้การคุ้มครองต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย

2.  การประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย      การประกันอัคคีภัยประเภทนี้มุ่งให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินซึ่งเป็นที่อยู่ที่อาศัยซึ่งก็คือบ้านเรือนไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ อาคารตึกแถว คอนโดมิเนียม แฟลต ของผู้เอาประกันภัย

3.  การประกันอัคคีภัยแบบพิเศษ  การประกันอัคคีภัยแบบพิเศษนี้เป็นการประกันภัยที่มีอัตราเบี้ยไม่สูงมากหรือมีการกำหนดเอาไว้ชัดเจนโดยจะให้การคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยที่เกิดจากเพลิงไหม้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

3.1. แบบชุมชนบ้านอยู่อาศัย

– คุ้มครองสิ่งปลูกสร้างของบ้านที่ตั้งอยู่ในชุมชนที่เกิดไฟไหม้

 – จำกัดวงเงิน 20,000 บาท

– ค่าเบี้ยประกันภัย 365 บาทต่อปี

3.2 แบบประหยัด

– คุ้มครองสิ่งปลูกสร้างของบ้านที่เกิด ไฟไหม้ ฟ้าผ่า การระเบิด ความเสียหายจากยานพาหนะหรือสัตว์ความเสียหายจากอากาศยานหรือวัตถุที่ตกจากอากาศยาน ภัยอันเนื่องจากน้ำ (ไม่รวมน้ำท่วมนะครับ)

ขอบเขตความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยตามมาตรฐานมีอะไรบ้าง?

●คุ้มครองความเสียหาจากเพลิงไหม้ ฟ้าผ่า และการระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับสำหรับทำแสงสว่าง หรือใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น เช่นแก๊สหุงต้ม (ไม่ใช่เพื่อการค้าหรือเชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม

●คุ้มครองความเสียหายจากน้ำหรือสารเคมีที่ใช้ในการดับเพลิง

●คุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากเจ้าหน้าที่ ดับเพลิง เช่น การพังบ้านหรือการกระทำใดๆเพื่อการดับเพลิงและป้องกันไม่ให้ไฟขยายตัวและลุกลาม

●คุ้มครองความเสียหายจากควัน เขม่า เกรียม อันเนื่องมาจากการเกิดอัคคีภัย 

ข้อดีและข้อเสียของการทำประกันอัคคีภัย

●ข้อดีของการทำประกันอัคคีภัย

การทำประกันภัยแต่ละประเภทมีประโยชน์ในตัวของมันเอง นอกจากทำหน้าที่ช่วยกระจายความเสี่ยง และลดค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ประกันอัคคีภัยยังมีข้อดี ได้แก่ การคุ้มครองเมื่อบ้านเกิดเพลิงไหม้, เพิ่มความอุ่นใจเมื่อแก๊สหรืออุปกรณ์ให้ไฟฟ้าเกิดลัดวงจร, คลายกังวลเมื่อเกิดฟ้าผ่าแล้วสร้างความเสียหายให้แก่ที่พักอาศัยและราคาเบี้ยประกันถูก โดยเฉพาะการทำประกันอัคคีภัยระยะยาวหลายปี

●ข้อเสียของการทำประกันอัคคีภัย

         การทำประกันอัคคีภัยอาจไม่สามารถคุ้มครองตัวผู้ทำประกันและมีเงื่อนไขข้อบังคับมากมายกว่าที่คุณคิด อีกทั้งยังมีข้อกฎหมายที่บังคับทำเราต้องทำเมื่อซื้อสังหาบางประเภทอีกด้วย และบางประกันอาจมีราคาสูงมากๆ ได้เช่นกันครับ

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “ข้อดีและข้อเสียของการทำประกันอัคคีภัย” ที่เราได้หามาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความนี้ครับ เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกๆ ท่านนะครับ

ประกันจักรยานยนต์
Insurance

ประกันรถจักรยานยนต์ ความคุ้มค่าที่น่าลงทุน

หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ขับขี่จักรยานยนต์ที่ต้องเดินทางเป็นประจำทุกวันแล้วหล่ะก็…การมีประกันติดไว้เป็นอะไรที่อุ่นใจกว่ามากๆ อย่างแน่นอนครับ หลายท่านอาจจะเคยได้ยินได้เห็นผ่านตากันมาอุบัติเหตุจากการขับขี่รถจักรยานยนต์ที่เกิดขึ้นอยุ่เป็นประจำ บทความนี้จะขอพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “ประกันรถจักรยานยนต์ ราคาคุ้ม”  ที่น่าสนใจกันครับ

ทำความรู้จักกับ ประกันรถจักรยานยนต์

ประกันรถมอเตอร์ไซค์ เป็นประกันภาคสมัครใจ ตามกฎหมายเราจะทำหรือไม่ทำก็ได้ ไม่มีความผิด ซึ่งการคุ้มครองจะคุ้มครองเพิ่มเติมจากพ.ร.บ. โดยจะคุ้มครองทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้เอาประกัน โดยวงเงินและขอบเขตการคุ้มครองจะเป็นไปตามประเภทของประกันรถมอเตอร์ไซค์ ซึ่งประเภทของประกันรถมอเตอร์ไซค์ก็จะเหมือนกับประกันภัยรถยนต์ปกติ โดยจะแบ่งเป็นประกันภัยชั้น 1, 2 และ 3

            ข้อดีของประกันรถมอเตอร์ไซค์ คือ จะคุ้มครองในส่วนความเสียหายของรถ ทำให้ไม่ต้องควักเงินเสียค่าซ่อมรถ ซึ่งเป็นส่วนที่พ.ร.บ. ไม่ได้ให้ความคุ้มครอง

พ.ร.บ. คุ้มครองอะไรบ้าง?

หากเกิดอุบัติเหตุ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์จะให้ความคุ้มครองในเบื้องต้นทันที โดยยังไม่ต้องมีการพิสูจน์ความผิด รวมไปถึงการเกิดอุบัติเหตุแบบไม่มีคู่กรณี เช่น ล้มเอง หรือเฉี่ยวชนกับสิ่งกีดขวางบนท้องถนน ทำให้ผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารบาดเจ็บหรือเสียชีวิต พ.ร.บ. จะให้ความคุ้มครอง ดังนี้

●เบิกค่ารักษาพยาบาลตามค่าใช้จ่ายจริง ในวงเงินไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน

●หากเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ จะได้รับเงินชดเชย 35,000 บาทต่อคน

●หากเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะตามมาภายหลังเข้ารับการรักษา จะได้รับเงินชดเชยสูงสุด 65,000 บาท

5 ประกันรถจักรยานยนต์ ราคาคุ้ม

ประกันบิ๊กไบค์ของบริษัท TQM-

●คุ้มครองความเสียหายต่อชีวิตบุคคลภายนอก

●คุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์

●คุ้มครองกรณีรถสูญหาย รถไฟไหม้

●คุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคล

●คุ้มครองกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง

●คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล

●คุ้มครองการประกันตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญา

ประกันไทยไพบูลย์ แพกเกจ 3+ –

●ซ่อมรถเรา เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน โดยต้องมีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบกเท่านั้น (รถชนรถ) จึงสามารถเคลมได้

●ซ่อมรถ/ทรัพย์สินคู่กรณีให้ด้วย ถ้าเราเป็นฝ่ายผิด

●คุ้มมครองชีวิต และค่ารักษาพยาบาลคนในรถเรา

●จ่ายเงินประกันตัวผู้ขับขี่ กรณีเกิดเป็นคดีอาญาจากการเฉี่ยวชน

ประกันภัยไทยวิวัฒน์แพกเกจ 3+ –

●ซ่อมรถเรา เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน โดยต้องมีคู่กรณีเป็นยานพาหนะทางบกเท่านั้น (รถชนรถ) จึงสามารถเคลมได้

●ซ่อมรถ/ทรัพย์สินคู่กรณีให้ด้วย ถ้าเราเป็นฝ่ายผิด

●คุ้มครองชีวิต และค่ารักษาพยาบาลคนในรถเรา

●จ่ายเงินประกันตัวผู้ขับขี่ กรณีเกิดเป็นคดีอาญาจากการเฉี่ยวชน

ประกันบิ๊กไบค์ของบริษัท กรุงศรี ออโต้-

●ทุนประกัน 30,000 บาท

●คุ้มครองทรัพย์สินส่วนบุคคล 1,000,000 บาท

●ซ่อมอู่

●ไม่มีค่าเสียหายส่วนแรก

●คุ้มครองชีวิตต่อคน 500,000 บาท คุ้มครองชีวิตต่อครั้ง 10,000,000 บา

●คุ้มครองทรัพย์สินบุคคลภายนอก 1,000,000 บาท

●คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล

●คุ้มครองการประกันตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญาจุดเ

●คุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคล

ประกันบิ๊กไบค์ของบริษัทรู้ใจ-

●สามารถผ่อนชำระได้นานถึง 10 งวด ผ่อนชำระได้ทั้งบัตรเครดิตและบัตรเดบิต

●ได้รับ Roojai Rewards สูงสุด 1,500 บาท

●คุ้มครองการชนแบบไม่มีคู่กรณี

●คุ้มครองรถเสียหาย รถสูญหาย รถไฟไหม้ รถน้ำท่วม

●คุ้มครองความรับผิดต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก

●คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล

●คุ้มครองการประกันตัวผู้ขับขี่

และนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับ “ประกันรถจักรยานยนต์ ราคาคุ้ม” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่าน เราหวังว่าจะช่วยเป็นข้อมูลเกี่ยวกับการคุ้มครองที่ทุกท่านต้องการและเข้าใจในการคุ้มของของ พ.ร.บ. มากขึ้นกันนะครับ

ประกันรถยนต์
Insurance

ทำไมถึงต้องทำประกันรถยนต์ ?

อย่างที่เรารู้ๆ กันอยู่แล้วว่าว่ารถยนต์จัดว่าเป็นของคู่กายที่ทุกๆ คนและทุกบ้านต้องมีอย่างน้อยหนึ่งคัน เพื่อความสะดวกในการเดินทางและทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งต้องมีค่าน้ำมัน ค่าบำรุงรักษาต่างๆ มากมาย ที่จพทำให้เงินลอยออกจากกระเป๋าของเรา นอกจากนี้ยังอาจเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับตัวเราและรถของเราได้อีกด้วยครับ บทความนี้จะขอพาท่านผู้อ่านไปค้นหาคำตอบกันครับว่า “ทำไมถึงต้องทำประกันรถยนต์?” กันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น เราไปดูกันเล้ยย!!

ความหมายของประกันรถยนต์

ประกันภัยรถยนต์ หมายถึง การที่บุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า “ผู้เอาประกันภัย” ได้โอนความเสี่ยงภัยเกี่ยวกับรถยนต์ไปให้บุคคลอื่นซึ่งเรียกว่า “ผู้รับประกันภัย” รับเสี่ยงภัยแทน โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเรียกว่า “เบี้ยประกันภัย” ให้กับผู้รับประกันภัย เป็นการตอบแทนที่ผู้รับประกันภัยยอมรับความเสี่ยงภัยไว้แทน  หากรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้เกิดอุบัติเหตุ ทำให้เกิดความเสียหายแก่ตัวรถยนต์ หรือแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลที่โดยสารอยู่ภายในรถยนต์ ตลอดจนบุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายจากรถยนต์ที่เอาประกันภัยคันดังกล่าว ผู้เอาประกันภัย จะได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่เรียกว่า “ค่าสินไหมทดแทน” โดยผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามจำนวนค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินที่ได้ตกลงทำสัญญาไว้

ประกันรถยนต์มีกี่ประเภท

ประกันรถยนต์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่…

●ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ

การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือที่เรียกว่า ประกันภัย พ.ร.บ. ซึ่งรถยนต์ทุกคันทุกชนิดต้องทำประกันภัยประเภทนี้  เนื่องจากถูกบังคับโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ประกันภัยประเภทนี้ให้ความคุ้มครองและรับผิดชอบต่อความสูญเสียของชีวิต ร่างกาย  หรืออนามัยของประชาชนผู้ประสบภัยจากรถยนต์เท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น นาย อ.  ขับรถไปชนคนที่กำลังเดินข้ามถนนได้รับบาดเจ็บ ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนี้จะรับผิดชอบเฉพาะค่ารักษาพยาบาลของคนเดินถนนที่ได้รับบาดเจ็บเท่านั้น หรือพูดง่ายๆ ว่า “ซ่อมคน ไม่ซ่อมรถ”

●ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ  เป็นการตกลงกันระหว่างผู้ซื้อ (ผู้เอาประกันภัย) และผู้ขาย  (บริษัทประกันภัย) เป็นการเลือกซื้อความคุ้มครองประกันภัยตามความต้องการของผู้ซื้อโดยไม่มีผู้ใดบังคับซึ่งประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจนี้จะรับผิดชอบต่อความเสียหายส่วนที่เกินจากความรับผิดชอบของประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับนั่นเอง

3 เหตุผลที่บ่งบอกว่าทำไมถึงต้องทำประกันรถยนต์?

เพื่อลดความเสี่ยงต่อสิ่งที่ไม่คาดคิด เพราะอุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับถูกขโมยรถ รถถูกไฟไหม้หรือเจอผลกระทบภายนอกที่เมื่อเราไม่มีเงิน ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ไม่ดี เชื่อว่าทุกคนล้วนไม่อยากที่จะเสียเงินไปกับสิ่งที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า

ลดการปะทะกับคู่กรณี  ในหลายๆ ครั้งที่การประสบอุบัติเหตุบนท้องถนน มักจะนำมาซึ่งการใช้อารมณ์ที่รุนแรง การโต้เถียงหรือไม่เข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างคู่กรณี รวมถึงการเจรจาที่อาจจะทำให้คุณต้องกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบ การทำประกันรถยนต์ นั้นทางบริษัทประกันภัยจะมีเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างดี

มีวงเงินประกันตัวผู้ขับขี่หากเกิดเหตุร้ายแรง เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่หลายคนไม่คาดคิดว่าทางผู้รับประกันภัยจะคุ้มครอง แต่ในปัจจุบันเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เพราะเมื่อเกิดเหตุร้ายแรงขึ้น ซึ่งเมื่อถ้าหากมีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิต อุบัติเหตุจะกลายเป็นคดีอาญาที่จะต้องมีการพิจารณาคดี ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่รุนแรงและบานปลายพอสมควร แต่ถ้าหากคุณมี ประกันภัยรถยนต์ เอาไว้จะสามารถช่วยเหลือคุณได้เป็นอย่างดี โดยกรมธรรม์ดังกล่าว คือ การประกันตัวผู้ขับขี่คดีอาญา นั่นเอง

และนี้คือคำตอบของคำถามที่ว่า “ทำไมถึงต้องทำประกันรถยนต์ ?” ที่เราได้หามาฝากทุกๆ ท่านกันครับ เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับทุกๆ ท่านนะครับ