ประกันอัคคีภัย
Insurance

ข้อดีและข้อเสียของการทำประกันอัคคีภัย

อย่างที่เราทราบกันดีว่า “การประกันอัคคีภัย” เป็นการประกันวินาศภัยประเภทหนึ่งที่มีบทบาท รับผิดชอบต่อสังคมทางด้านเศรษฐกิจ ทั้งต่อส่วนรวมและต่อบุคคล จึงทำให้การทำประกันอัคคีภัยนับว่าเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นอย่างมาก ในวันนี้เราจะขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมและพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “ข้อดีและข้อเสียของการทำประกันอัคคีภัย” กันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น เดี๋ยวเราไปดุกันเลยดีกว่าครับ

การประกันอัคคีภัย คืออะไร?

การประกันอัคคีภัย คือ การให้ความคุ้มครองทรัพย์สินต่างๆ ของผู้เอาประกันภัย  ไม่ว่าจะเป็น สังหาริมทรัพย์ หรือ อสังหาริมทรัพย์  ทั้งทรัพย์สินที่มีรูปร่าง และไม่มีรูปร่าง ที่อาจเกิดความสูญเสียหรือเสียหายจากเหตุเพลิงไหม้เป็นหลัก

ประกันอัคคีภัย คุ้มครองอะไรบ้าง

1. สิ่งปลูกสร้างที่ไม่รวมฐานราก : ส่วนของบ้านที่อยู่เหนือพื้นดินขึ้นไป เช่น เสา ผนัง หลังคา พื้น ประตู หน้าต่าง รั้ว อาคารจอดรถ เป็นต้น

2. ทรัพย์สินในสิ่งปลูกสร้าง : ทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้างนั้น เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่ง สิ่งติดตั้งตรึงตรา เครื่องใช้ภายในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เครื่องดนตรี เครื่องเสียง เครื่องครัว เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ

ประกันอัคคีภัยมีกี่ประเภท

ประกันอัคคีภัยนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

1.  การประกันอัคคีภัยมาตรฐาน    เป็นการประกันอัคคีภัยที่ให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินที่เป็นมาตรฐานทั่วไป โดยกรมธรรม์ประกันภัยจะให้การคุ้มครองต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัย

2.  การประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย      การประกันอัคคีภัยประเภทนี้มุ่งให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินซึ่งเป็นที่อยู่ที่อาศัยซึ่งก็คือบ้านเรือนไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวเฮาส์ อาคารตึกแถว คอนโดมิเนียม แฟลต ของผู้เอาประกันภัย

3.  การประกันอัคคีภัยแบบพิเศษ  การประกันอัคคีภัยแบบพิเศษนี้เป็นการประกันภัยที่มีอัตราเบี้ยไม่สูงมากหรือมีการกำหนดเอาไว้ชัดเจนโดยจะให้การคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สินที่เอาประกันภัยที่เกิดจากเพลิงไหม้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

3.1. แบบชุมชนบ้านอยู่อาศัย

– คุ้มครองสิ่งปลูกสร้างของบ้านที่ตั้งอยู่ในชุมชนที่เกิดไฟไหม้

 – จำกัดวงเงิน 20,000 บาท

– ค่าเบี้ยประกันภัย 365 บาทต่อปี

3.2 แบบประหยัด

– คุ้มครองสิ่งปลูกสร้างของบ้านที่เกิด ไฟไหม้ ฟ้าผ่า การระเบิด ความเสียหายจากยานพาหนะหรือสัตว์ความเสียหายจากอากาศยานหรือวัตถุที่ตกจากอากาศยาน ภัยอันเนื่องจากน้ำ (ไม่รวมน้ำท่วมนะครับ)

ขอบเขตความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยตามมาตรฐานมีอะไรบ้าง?

●คุ้มครองความเสียหาจากเพลิงไหม้ ฟ้าผ่า และการระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับสำหรับทำแสงสว่าง หรือใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น เช่นแก๊สหุงต้ม (ไม่ใช่เพื่อการค้าหรือเชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม

●คุ้มครองความเสียหายจากน้ำหรือสารเคมีที่ใช้ในการดับเพลิง

●คุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากเจ้าหน้าที่ ดับเพลิง เช่น การพังบ้านหรือการกระทำใดๆเพื่อการดับเพลิงและป้องกันไม่ให้ไฟขยายตัวและลุกลาม

●คุ้มครองความเสียหายจากควัน เขม่า เกรียม อันเนื่องมาจากการเกิดอัคคีภัย 

ข้อดีและข้อเสียของการทำประกันอัคคีภัย

●ข้อดีของการทำประกันอัคคีภัย

การทำประกันภัยแต่ละประเภทมีประโยชน์ในตัวของมันเอง นอกจากทำหน้าที่ช่วยกระจายความเสี่ยง และลดค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ประกันอัคคีภัยยังมีข้อดี ได้แก่ การคุ้มครองเมื่อบ้านเกิดเพลิงไหม้, เพิ่มความอุ่นใจเมื่อแก๊สหรืออุปกรณ์ให้ไฟฟ้าเกิดลัดวงจร, คลายกังวลเมื่อเกิดฟ้าผ่าแล้วสร้างความเสียหายให้แก่ที่พักอาศัยและราคาเบี้ยประกันถูก โดยเฉพาะการทำประกันอัคคีภัยระยะยาวหลายปี

●ข้อเสียของการทำประกันอัคคีภัย

         การทำประกันอัคคีภัยอาจไม่สามารถคุ้มครองตัวผู้ทำประกันและมีเงื่อนไขข้อบังคับมากมายกว่าที่คุณคิด อีกทั้งยังมีข้อกฎหมายที่บังคับทำเราต้องทำเมื่อซื้อสังหาบางประเภทอีกด้วย และบางประกันอาจมีราคาสูงมากๆ ได้เช่นกันครับ

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “ข้อดีและข้อเสียของการทำประกันอัคคีภัย” ที่เราได้หามาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความนี้ครับ เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกๆ ท่านนะครับ

ประกันอัคคีภัย
Insurance

ประกันอัคคีภัยคืออะไร?

เมื่อตอนที่ทุกๆ ท่านกำลังซื้อบ้านหลังแรกกันนั้น ในการกู้เงินก็ต้องมีการทำประกันเพื่อป้องกันเหตุที่ไม่คาดฝันต่างๆ ในอนาคตดั่งเช่น “ประกันอัคคีภัย” นั้นเองครับ ในวันนี้เราจะขอพาท่านผู้อ่านที่กำลังค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวกับ “ประกันอัคคีภัย” ว่าเป็นอย่างไร? มีข้อมูลใดต้องรู้บ้าง วันนี้เราจะไปหาคำตอบกันครับ

ทำความรู้จักกับ “ประกันอัคคีภัย”

การประกันอัคคีภัย คือ การประกันภัยทรัพย์สินที่ให้ความคุ้มครองแบบ “ระบุภัย (Named Peril)” กล่าวคือ ให้ความคุ้มครองความสูญเสียหรือเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เอาประกันภัยอันเนื่องมาจากภัยที่ระบุไว้เท่านั้น ส่วนการประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR)ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินที่เอาประกันภัยซึ่งได้รับความเสียหายทางกายภาพโดยอุบัติเหตุใด ๆ ที่มิได้ระบุยกเว้นในกรมธรรม์ประกันภัย

ประกันอัคคีภัยให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง?

แบบให้ความคุ้มครองสิ่งปลูกสร้าง (ไม่รวมฐานราก) ซึ่งใช้เป็นที่อยู่อาศัย เช่น บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด ตึกแถวสำหรับอยู่อาศัย ห้องชุดสำหรับอยู่อาศัยในแฟลต อาคารชุด คอนโดมิเนียม และทรัพย์สินภายในสิ่งปลูกสร้างนั้น เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องตกแต่ง สิ่งติดตั้งตรึงตรา เครื่องใช้ภายในบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เครื่องดนตรี เครื่องเสียง เครื่องครัว เครื่องนุ่งห่ม และทรัพย์สินอื่นๆ ที่เกิดจากความเสียหายจาก ไฟไหม้, ฟ้าผ่า(รวมถึงความเสียหายต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกิดจากการลัดวงจรจากฟ้าผ่า) ระเบิด, ภัยจากการเฉี่ยว และหรือการชนของยานพาหนะ, การรั่วไหลหรือการล้นออกมาของน้ำหรือไอน้ำจากท่อน้ำ, ถังน้ำ ระบบทำความร้อน ระบบทำความเย็น ระบบปรับอากาศ เครื่องสูบน้ำ และรวมถึงน้ำฝนที่ไหลผ่านเข้าไปภายในอาคารจากการเสียหายของหลังคา หน้าต่าง ประตู วงกบประตูหน้าต่างช่องลม ช่องรับแสงสว่าง ท่อน้ำหรือรางน้ำ

สิทธิประโยชน์ของผู้ทำประกันอัคคีภัย

          เป็นเจ้าของทรัพย์สินหรือผู้มีสิทธิ์มีผลประโยชน์ และส่วนได้ส่วนเสียอย่างแท้จริง ในทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้างที่เอาประกันภัยสิ่งปลูกสร้าง สำหรับกรมธรรม์อัคคีภัย สำหรับที่อยู่อาศัย หมายถึง บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ บ้านแฝด สำหรับอยู่อาศัย โรงรถ กำแพง รั้ว ประตู ห้องชุดสำหรับอยู่อาศัยในแฟลต คอนโดมีเนียม

ประโยชน์เพิ่มเติมจากกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย

●ผู้เอาประกันภัยได้รับความคุ้มครองพื้นฐานเพิ่มขึ้น จากกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย ซึ่งให้ความคุ้มครองพื้นฐานเพียง 3 ภัย ได้แก่ ไฟไหม้ ฟ้าผ่า และการระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่าง หรือ ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น แต่กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย ให้ความคุ้มครองพื้นฐานเพิ่มเป็น 6 ภัย ดังได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น

● ให้ประโยชน์กรณีกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยคลาดเคลื่อน

●เพิ่มเงื่อนไขให้บริษัทต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมทั้งดอกเบี้ยในฐานะลูกหนี้ผิดนัดในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี

●ข้อดีที่เห็นได้ชัดเจนของ “กรมธรรม์ประกันอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัย” คือ เรื่องเบี้ยประกันภัย ยกตัวอย่าง เช่น บ้านหลังหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครมีมูลค่า 1,000,000 บาท ทำประกันภัยอัคคีภัยสำหรับที่อยู่อาศัยไว้เต็มมูลค่า คือ วงเงินเอาประกันภัยเท่ากับ 1,000,000 บาท ตามกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยแบบทั่วไป ผู้เอาประกันภัยจะต้องเสียเบี้ยประกันภัย 900 บาทต่อปี

ปัจจัยในการคำนวณอัตราเบี้ยประกันภัย

BUI จะพิจารณาองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้

●ลักษณะของสิ่งปลูกสร้าง

●ลักษณะการใช้สถานที่อยู่อาศัยเท่านั้น

●สถานที่ตั้งของทรัพย์สิน

●อุปกรณ์สำหรับการดับเพลิง

●สิ่งแวดล้อมที่ตั้งของห้องพัก

ทั้งนี้ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจซื้อที่และทำประกันอัคคีแบบต่างๆ นั้น จะต้องเลือดให้มันเหมาะมากที่สุดเพื่อที่การคุ้มครองจะป็นไปตามแผน อuกทั้งการทำประกันถือว่าช่วยแบ่งเบาภาระของท่านในช่วงเวลาที่ไม่คาดฝันนั้นเองครับ

และนี้คือข้อลมูลเกี่ยว “ประกันอัคคีภัยคืออะไร?”ที่เราได้นำเสนอไปข้างต้น เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกๆ ไม่มากก็น้อยนะครับ สุดท้ายนี้ การประสบเหตุที่ต้องเลือดตกยางออก ขอให้ทุกๆ ลองนำไปใช้กันดครับ